พัดลมแบบ DC สามารถทำงานได้ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าจำนวนเล็กน้อยเข้าสู่ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ และทำให้เกิดแรงบิดที่แกนของมอเตอร์และทำให้ใบพัดลมหมุน โดยมอเตอร์กระแสตรงนั้นเป็นมอเตอร์แบบ brushless DC motor หรือเรียกกันอีกแบบว่า synchronous DC motor จะใช้หลักการของขั้วแม่เหล็กที่แตกต่างกันในการผลักกัน ให้เกิดแรงบิดเพื่อไปหมุนใบพัดของพัดลมให้หมุน ด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างแม่เหล็กถาวร และขดลวดไฟฟ้า |
DC Fan ย่อมาจากคำว่า “Direct Current Fan” พัดลมระบายความร้อนชนิดนี้ จะทำงานโดยมีค่าแรงดันไฟฟ้า (Voltage) คงที่ตลอดเวลา แหล่งพลังงานไฟฟ้าอาจจะมาจากการต่อตรงเข้ากับ แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply Unit – PSU) หรือเชื่อมต่อกับ มาเธอร์บอร์ด (Motherboard) ก็ได้
พัดลม DC ไม่สามารถใช้กับไฟฟ้าบ้านเราได้โดยตรง เพราะบ้านเราใช้ไฟ 220 โวลท์ ซึ่งหากต้องการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นไฟ DC จะต้องมีอะแดปเตอร์หรือหม้อแปลง มาแปลงไฟก่อนจึงจะใช้ได้ ทำให้ไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้งานในบ้านเรา แต่พัดลม DC ก็จะมีจุดเด่นหลายอย่าง ที่ทำให้ถูกเลือกมาใช้งานเช่นกัน เช่น |
– การรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดความร้อนสะสม ดังนั้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ที่ต้องการระบายความร้อนของตัวเครื่องจึงมักเลือกใช้พัดลม DC ในการระบายความร้อน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ และรวมถึงเครื่องจักรใหญ่ เช่น เครื่อง CNC เป็นต้น รวมไปถึงการที่อุปกรณ์เหล่านั้นจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นด้วย
– พัดลม DC ใช้พลังงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับพัดลม AC ซึ่งทำให้ประหยัดไฟมากขึ้น
– เสียงเงียบ เบา จึงทำให้เกิดเสียงที่รบกวนต่อสภาพแวดล้อมน้อยมาก
– กระแสไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าด้วยแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำกว่า
พัดลม DC ถูกนำมาใช้กับงานหลาย ๆ ประเภทในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถโฟล์คลิฟท์ เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ อินเวอร์เตอร์ หรือแม้กระทั่งระบบโซลาร์เซลล์
พัดลมแบบ DC Fan ส่วนใหญ่จะมีแรงดันไฟฟ้าที่ 5VDC, 12VDC, 24VDC 38VDC และ 48VDC หรือแตกต่างจากนี้ก็มีเช่นกัน ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละราย ความเหมาะสมในเลือกใช้ สำหรับระบายความร้อนอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ต้องการ โดยจะเลือกพิจารณาทั้งแรงดันไฟ รูปทรง ขนาด หรือแรงลมที่จะใช้ในการระบายความร้อนของอุปกรณ์ต่าง ๆ และอาจรวมถึงคุณสมบัติหรือฟังก์ชั่นพิเศษที่ต้องมีด้วย เช่น Tachometer,Alarm Moter,Thermal Speed Control,Pulse Width Modulation,Control Voltage Speed setting เป็นต้น พัดลมแบบ DC ถ้าเทียบราคาตัวต่อตัวแล้วมักจะสูงกว่าพัดลมแบบ AC แต่ถ้ากล่าวถึงความคุ้มค่าในระยะยาว พัดลมแบบ DC จะให้จุดที่คุ้มทุนได้ดีกว่า
การอ่านรหัสสินค้าของพัดลม DC ยี่ห้อ SINWAN (SINWAN DC FAN)
ในการเลือกซื้อสินค้าพัดลม DC ลูกค้าสามารถแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ให้กับผู้ขาย เช่น ขนาด รูปทรง แรงดันไฟ กระแสไฟ (บางกรณี) เป็นต้น และอีกสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กันก็คือ จำนวนสายไฟ โดยปกติทั่วไป จะมีเพียง 2 เส้น คือ สายไฟขั้วบวก (สีแดง) และสายไฟขั้วลบ (สีดำ) แต่จะมีบางกรณีสำหรับอุปกรณ์หรือเครื่องจักรพิเศษ ที่ถูกออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจง จะมีสายไฟเพิ่มเติมขึ้นมามากกว่า 2 เส้น เช่น 3 เส้น 4 เส้น 5 เส้น หรือสูงถึง 6 เส้น ก็มี ลูกค้าจำเป็นจะต้องระบุสีของสายไฟพัดลม DC ที่มีมากกว่า 2 สายนั้น ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เนื่องจาก นอกจากสายไฟขั้วบวกและขั้วลบแล้ว ควรระบุสีของสายไฟที่เพิ่มขึ้นมาด้วยเพื่อสามารถเลือกใช้ให้ตรงกับประเภทที่ต้องการ ซึ่งทางบริษัท เทค แอนด์ ไทม์ ซิสเต็ม จำกัด นำเข้าและเป็นตัวแทนจำหน่ายพัดลม DC ยี่ห้อ SINWAN หลากหลายขนาด หลากหลายรูปทรง หลากหลายแรงดันไฟ ทั้งนี้หากลูกค้ามีสินค้าพัดลม DC เป็นยี่ห้ออื่น ๆ ทั่วไปก็สามารถแจ้งเทียบรุ่นได้เช่นกัน โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2529-6344 หรือ ไลน์แอด @tech-time
หมายเหตุ
– พัดลม DC สำหรับสายขั้วลบ ส่วนใหญ่จะเป็นสายไฟสีดำ แต่อาจมีบ้างเช่นกันที่เป็นสีอื่นโดยเปลี่ยนไปตามแรงดันไฟ เช่น พัดลม 5VDC สายขั้วลบสีเขียว พัดลม 12VDC สายขั้วลบสีน้ำเงิน พัดลม 24VDC สายขั้วลบสีดำ พัดลม 38VDC หรือ 48VDC สายขั้วลบสีน้ำตาล เป็นต้น
– รหัส F ต่อท้ายรุ่นสินค้าพัดลม DC ของยี่ห้อ SINWAN จะเป็นการแสดงให้ทราบว่ามีสายพิเศษเพิ่มเติม โดยจะเป็นสายสัญญาณอะไรนั้น จะแยกตามสีของสายไฟอีกครั้ง โดยทั่วไปทางบริษัทฯ จะนำเข้ามาเป็นสายสีเหลือง (เช็คมอเตอร์) หรือสายสีขาว (เช็ครอบ) แต่หากลูกค้าต้องการชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากฝ่ายขาย
รูปตัวอย่าง พัดลม DC ประเภท 2 สาย (บวก-ลบ)
Function Lead Wire Colors
รูปตัวอย่าง พัดลม DC ประเภท 3 สาย (บวก-ลบ-สัญญาณ) |
R/D = Yellow Color = Motor cutoff sensor signals for motor stop alarm สายไฟสีแดง –> สายขั้วบวก สายไฟสีดำ –> สายขั้วลบ สายไฟสีเหลือง –> สายสัญญาณมอเตอร์ F/G = White Color = Tach speed sensor signals for tachometer |