ทำความรู้จักหลักการทำงานของพัดลมระบายความร้อน ทำงานยังไง?

0
1856

    ทุกคนคงพอคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วเมื่อเอ่ยถึงพัดลมระบายความร้อนว่ามีส่วนสำคัญในการดึงความร้อนจากด้านในของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ออกมาภายนอก ด้วยหลักการนำอากาศเข้าไปทดแทน ลดความร้อนที่เกิดจากการทำงานอย่างหนักจนทำให้เกิดความร้อนสูง ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นนี่เองเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์ภายในเครื่องจักรหรือตู้คอนโทรลนั้น
เสื่อมสภาพเร็วขึ้นจนกระทั่งเสียหายหรือมีอันตรายตามมาภายหลัง แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่าหลักการทำงานของพัดลมช่วยระบายความร้อนเครื่องจักร ตู้คอนโทรลต่าง ๆ
เป็นอย่างไรบ้าง ลองมาศึกษาข้อมูลไปพร้อมกันเลย

หลักการทำงานเบื้องต้นของพัดลมระบายความร้อน


    หลังจากทำการติดตั้งพัดลมไว้กับตัวอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อย เมื่อเปิดเครื่องจักร
ตู้คอนโทรลใด ๆ เพื่อใช้งานก็ตาม พัดลมระบายความร้อนจะหมุนแบบอัตโนมัติ ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง (ตลอดระยะการเปิดทำงานของเครื่องจักรหรือตู้คอนโทรลนั้น)
ซึ่งพัดลมระบายความร้อนในอุตสาหกรรมเหล่านี้จะทำงานเพื่อเริ่มต้นนำเอาความร้อนจากภายในออกมาทันที ซึ่งบริเวณใบพัดนับเป็นชิ้นส่วนสำคัญสำหรับหมุนเวียนลม
เข้า-ออก ทั้งนี้ต้องเน้นย้ำว่าลักษณะของใบพัดจะมี 2 ด้าน แต่ละด้านแตกต่างกันชัดเจน คือ

  • ใบพัดด้าน Open Side เป็นการดึงลมจากภายนอกให้เข้ามาสู่ตัวอุปกรณ์
    (ลมออกด้านหลังตัวพัดลม เป็นลักษณะการออกแบบพิเศษเฉพาะรุ่น)
  • ใบพัดด้าน Grille Side จะระบายความร้อนภายในให้ออกไปด้านนอกแทน
    (ลมออกด้านหน้าตัวพัดลม เป็นลักษณะพัดลมระบายความร้อนตามปกติทั่วไป)

     => ลักษณะใบพัดแบบ Open Side จะเป็นลมแบบหมุนกลับ Reverse Air สำหรับพัดลมภายใต้แบรนด์
ฟูลเทค (Fulltech) จะมีบางรุ่นที่แสดงรหัสสินค้าด้วยตัว R อยู่ในรุ่นนั้นด้วย เช่น UF12AR Series, UF12BR Series, UF15KCR Series, UF15KMR Series, UF15KMRE Series เป็นต้น โดยลมจะออกทางด้านหลังของตัวพัดลม สามารถสังเกตได้จากลูกศรที่แสดงบนตัวของพัดลมได้ ซึ่งผู้ประกอบงานพัดลมระบายความร้อนพิจารณาการติดพัดลมจากสัญลักษณ์นี้ หากติดตั้งผิดฝั่งการทำงานก็จะตรงข้ามกันแบบสิ้นเชิง หมายถึง แทนที่จะ
ดูดอากาศเย็น กลับนำเอาลมร้อนเข้ามาแทนที่ โอกาสเกิดความเสียหายจึงมีได้มากขึ้น ทั้งนี้เมื่อพัดลมเริ่มทำงาน
ลมที่กระจายเข้าไปจะไหลเวียนทั่วอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากต้องการใช้พัดลมที่มีลักษณะดังกล่าวแล้วแต่อาจจะหาอะไหล่เปลี่ยนไม่ได้ก็สามารถใช้พัดลมระบายความร้อนที่มีลมออกในด้านปกติทั่วไปใช้ทดแทนแล้วให้ติดตั้งสลับด้านเท่านั้นเอง

การทำงานของ AC Cooling Fan และ DC Cooling Fan

นอกจากหลักเบื้องต้นแล้ว พัดลมระบายความร้อนยังแบ่งประเภทหลัก ๆ ออกเป็น 2 กลุ่ม และมีหลักการทำงานต่างกัน ดังนี้

  1. AC Cooling Fan

    เป็นการทำงานของตัวพัดลมด้วยกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) ซึ่งเป็นกระแสไฟที่มีทิศทางการวิ่งไป-กลับตลอด เมื่อเริ่มทำงานใบพัดจะสร้างกระแสลมเพื่อลดอุณหภูมิภายใน
ตัวอุปกรณ์และระบายความร้อนออกมาภายนอก จุดเด่นสำคัญคือการไหลเวียนของอากาศมีความคงที่และต่อเนื่องจากรูปแบบกระแสไฟ สามารถปรับระดับความแรงได้ตามต้องการ ด้วยการต่อพ่วงกับตัวปรับแรงลม (Speed Control/Dimmer Switch Cord) แบ่งแยกย่อยได้หลายประเภท เช่น Axial Fans, External Rotor Fans,
Cross-Flow Fan, Centrifugal Fans, Blower Fans, Duct Fan, EC Fan เป็นต้น AC Cooling Fan หรือพัดลมกระแสสลับนี้ เป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ฟูลเทค (Cooling Fan Brand Fulltech) ทั้งแรงดันไฟ 100VAC, 115VAC, 200VAC, 230VAC หรือ 380VAC และสำหรับพัดลมประเภท EC Fan ซึ่งเป็นพัดลมระบาย
ความร้อนไฟกระแสสลับคุณภาพสูงและประหยัดพลังงานจะมีรุ่นที่ใช้แรงดันไฟระหว่าง 115~230VAC ด้วย เช่น รุ่น UFT12ABPB0AM1D4A ขนาด 120*120*38 มม. รวมถึงพัดลมระบายความร้อนฟูลเทคนี้มีให้เลือกได้หลากหลายรูปแบบ หลากหลายรูปทรง หลากหลายขนาด มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม
ไม่ว่าจะเป็น งานผลิตเครื่องจักร งานตู้คอนโทรล งานตู้ไฟฟ้า งานตู้ควบคุม งานสื่อสาร งานตู้แช่ งานตู้แอร์คอนโทรล งานประกอบซ่อมแซมติดตั้งลิฟท์ งานม่านอากาศ เป็นต้น

  1. DC Cooling Fan

    เป็นการทำงานของตัวพัดลมด้วยกระแสไฟฟ้าตรง (DC) โดยส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าจนเกิดการเหนี่ยวนำ แกนมอเตอร์เกิดแรงบิดส่งผลให้ใบพัดลมหมุนนั่นเอง อย่างไรก็ตามหากใช้งานกับอุปกรณ์ในเมืองไทยต้องมีอะแดปเตอร์หรือตัวหม้อแปลงเพื่อแปลงกระแสไฟก่อน จากนั้นจึงทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่หากเครื่องจักรหรือ
ระบบควบคุมถูกออกแบบมาเป็นระบบไฟกระแสตรงอยู่แล้ว ก็สามารถใช้กับพัดลมระบายความร้อนชนิดนี้ได้เลยเช่นกัน สินค้า DC Cooling Fan ภายใต้แบรนด์ซินวาน (Cooling Fan Brand Sinwan) ประกอบด้วยแรงดันไฟ 5VDC, 12VDC, 24VDC และ 48VDC ให้เลือกใช้ มีตั้งแต่ขนาดเล็ก 40มม. (ประมาณ 1.5นิ้ว) ไปถึง 254มม. (ประมาณ 10นิ้ว) โดยมักใช้ในเครื่องจักร ตู้งานสื่อสารโทรคมนาคม งานติดตั้งซ่อมแซมแผงพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ตู้เชื่อม รถยนต์ รถบรรทุก รถบัสโดยสาร
รถโฟล์คลิฟท์ เป็นต้น

    เป็นอย่างไรกันบ้างกับหลักการทำงานของพัดลมระบายความร้อนที่หยิบมาแนะนำกันเพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงยังสามารถเลือกใช้งานพัดลมระบายความร้อนใน
รูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามที่ผู้ใช้งานต้องการให้เกิดประโยชน์มากที่สุดได้อีกด้วย เพราะนี่คืออีกอุปกรณ์หรืออะไหล่ตัวสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานของเครื่องจักร ตู้คอนโทรล และอุปกรณ์หลายชิ้นในงานอุตสาหกรรมดำเนินการได้แบบไม่ต้องกังวลใจ

หากสนใจพัดลมระบายความร้อนคุณภาพสูง จากโรงงานที่ได้มาตรฐาน 
    ตัวแทนจำหน่ายพัดลมระบายความร้อน AC Cooling Fan และ DC Cooling Fan โดยตรง คลิกที่นี่ https://www.tech-time.co.th/product